
พายุฤดูร้อน-ลูกเห็บตก รู้จัก 6 วิธีป้องกัน-บรรเทาความเสียหายอาคาร-บ้านเบื้องต้น
พายุฤดูร้อนความเสียหายจากภัยธรรมชาติ ที่บางครั้งก็มาพร้อมกับพายุลูกเห็บที่ล่าสุดกรมอุตุฯ ออกมาประกาศเตือนถึงความเสี่ยงในหลายจังหวัดรวมถึงกทม.ที่อาจต้องเผชิญกับทั้งพายุฤดูร้อนและลูกเห็บ โดยมีหลายพื้นที่ได้รับผลจที่เกิดขึ้นแล้ว สร้างความเสียหายให้กับอาคารบ้านเรือน เกี่ยวกับการป้องกันพายุฤดูร้อนและการตกของลูกเห็บ มีวิธีการง่ายๆ ในเบื้อง ที่อาจช่วยป้องกันหรือบรรเทาความเสียหายได้ ให้คำแนะนำโดยทีมงาน “ศ.ศิวะ การช่าง”
การป้องกัน หรือ เตรียมพร้อม เพื่อลดความเสียหายจากพายุฤดูร้อน หรือ ลูกเห็บตกนั้น อันดับแรก คงต้องมองไปที่ วัสดุในตัวบ้านอาคารที่เป็นสิ่งแรกคือ 1.หลังคาและโครงสร้างหลังคา เพราะต้องเป็นด่านแรกที่เผชิญกับแรงลม ฝน หรือ ลูกเห็บ การตรวจสอบเบื้องต้นแบบง่ายๆ ที่ทำได้ด้วยตัวเจ้าของบ้านเอง ควรตรวจสอบความแน่นหนาของแผ่นกระเบื้องมุงหลังคา ว่าแน่นหนาแข็งแรงดีหรือไม่ ถัดมาก็เป็นการตรวจสอบโครงสร้าง ซึ่งในส่วนหลังอาจต้องให้ผู้เชี่ยวชาญเข้ามาช่วย หากพบว่ามีการชำรุด หรือไม่แข็งแรงให้รีบทำการซ่อมแซม หรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านงานก่อสร้าง

ภาพความเสียหายของอาคารและทรัพย์สินที่เกิดจากพายุฤดูร้อนในจังหวัดอุบลราชธานี
2.การตรวจสอบประตู หน้าต่าง และจุดที่ต้านลม หรือเรื่องของกระจกต่างๆ เพราะเมื่อเกิดพายุแล้ว ประตูหน้าต่างจะเป็นจุดเปราะบางถัดมา และเป็นส่วนประกอบของอาคารบ้านเรือน ที่เกิดความเสียหายจากพายุและลูกเห็บได้ง่ายที่สุด การตรวจสอบง่ายๆ ควรตรวจสอบจุดยึด หรือ ความแน่นหนาของบานประตู และหน้าต่าง

ความเสียหายจากป้ายอาคารจากพายุฤดูร้อน
นอกจากนี้วัสดุประกอบที่เป็นกระจก ควรใช้อุปกรณ์ที่สามารถรับแรงกระแทกได้ดีมาห่อหุ้ม หรือ นำวัสดุมาบัง (กรณีเผชิญหน้ากับลูกเห็บ)

ภาพลูกเห็บ
3.สำรวจระบบการระบายน้ำในกรณีฉุกเฉิน (ป้องกันน้ำท่วม น้ำเอ่อ) 4.สำรวจระบบไฟฟ้าของบ้านหรืออาคาร และควรปิดสวิตช์ (คัดเอาท์) ทั้งบ้านในเวลาที่ต้องเผชิญหน้ากับพายุ เพื่อป้องกันอัคคีภัย
และ 5.การตรวจสอบโครงสร้างของบ้านทั้งหลัง (แบบคร่าวๆ ) คือสำรวจดูความแข็งแรง สำรวจดูจุดที่เปราะบางอีกครั้ง และสุดท้าย 6.หากเป็นไปได้ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านงานก่อสร้างหรือโครงสร้าง เพื่อให้มาตรวจสอบ ก็จะเป็นการป้องกันหรือบรรเทาความเสียหายที่จะเกิดจากพายุฤดูร้อนหรือพายุลูกเห็บ ทั้งหมดนี้ คงเป็นการแนวทางเบื้องต้นเท่านั้น แต่ถ้าจะให้ได้ผลจริงๆ ควรต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้จะเป็นการดีที่สุด